เมนู

บุคคล 4 จำพวก


[122] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีอยู่
หาได้อยู่ในโลก. 4 จำพวกเป็นไฉน คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ
ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.
2. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการ
ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
3. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อนและประกอบการ
ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบการ
ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
4. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อนและไม่ประ
กอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและไม่
ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
นั้น ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม
อยู่ในปัจจุบันเทียว.
[123] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำตนให้
เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนเป็นไฉน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคน
เปลือย ทอดทิ้งมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็
ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษา
ที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม

ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาของ
คน 2 คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิง
ผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ
กันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอม
เป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง
เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้า รับภิกษาที่
เรือน 2 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 2 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน 3 หลัง
เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 3 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน 4 หลัง เยียวยาอัตภาพ
ด้วยข้าว 4 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน 5 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 5 คำบ้าง
รับภิกษาที่เรือน 6 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 6 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน
7 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 7 คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาด
น้อยใบเดียวบ้าง 2 ใบบ้าง 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง 5 ใบบ้าง 6 ใบบ้าง 7 ใบบ้าง
กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง 2 วันบ้าง 3 วันบ้าง 4 วันบ้าง 5 วันบ้าง
6 วันบ้าง 7 วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียน
มาตลอดกึ่งเดือนแม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มี
สาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้
เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้
ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ.
เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสกุลบ้าง ผ้า
เปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอ
กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขน

สัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประกอบ
การขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือห้ามอาสนะ เป็นผู้
กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [คือเดินกระโหย่งเหยียบพื้น
ไม่เต็มเท้าบ้าง] เป็นผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้
อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง คือประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบ
การขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลายอย่างเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อน
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือด
ร้อนประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ
เลี้ยงชีวิต ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยม
โหด เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจำ หรือ
บุคคลเหล่าอื่นบางพวกเป็นผู้ทำการงานอันทารุณ ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี
ทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวาย
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
และประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
และประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
พระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี
พระราชาหรือพราหมณ์นั้นโปรดให้ทำโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่ง

พระนคร แล้วทรงจำเริญพระเกศาและมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทา
พระกายด้วยเนยใสและน้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยัง
โรงบูชายัญใหม่ พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้น
ดินอันมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด ทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเท้าที่หนึ่ง แห่งโค
แม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำ
นมในเต้าที่ 2 มีเท่าใดพระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนม
ในเต้าที่ 3 มีเท่าใดพราหมณ์ปุโรหิตย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำ
นมในเต้าที่ 4 มีเท่าใดก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำ
นมที่เหลือ พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ
จงฆ่าโคผู้ประมาณเท่านี้ จงฆ่าโคเมียประมาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้
ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้ แกะประมาณเท่านี้ ม้าประมาณ
เท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทำเป็นเสายัญ จงเกี่ยว
หญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าใดที่เป็นทาสก็ดี เป็นคน
ใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูก
อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ทำการงานตามกำหนด
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือด-
ร้อน และประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
และประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือด-
ร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้
เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่

ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้
เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จ
ไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดีหรือผู้เกิดเฉพาะ
ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้งฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระ-
ตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้า
กระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต
สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต.
เขาบวชอย่างนี้ แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้ง-
หลาย
1. ละการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความ
เอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

2. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้
ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.
3. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประ-
พฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.
4. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำ
สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.
5. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป
บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก
ข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริม
คนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อม-
เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมพร้อมกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อม-
เพรียงกัน.
6. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะ
หู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.
7. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่
เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.
8. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
9. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลา
วิกาล.
10. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการ
เล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

11. เธอเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วย
ดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
12. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
13. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
14. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
15. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
16. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
17. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
18. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
19. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
20. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
21. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
22. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการับใช้.
23. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
24. เธอเว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม
และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
25. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
26. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การ
ปล้นและกรรโชก.
เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น
เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไป
ทางทิศาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศ-
จากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะ...ดมกลิ่นด้วยฆานะ...
ลิ้มรสด้วยชิวหา. . .ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยการ. . .รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ถือนิรมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
นั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบ
ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสใน
ภายใน.
ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ใน
การแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การ
ตื่น การพูด การนิ่ง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะ อัน
เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับ
จากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละ

ความเพ่งเล็งโนโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากความเพ่งเล็ง ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความ
กรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประ-
ทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความ
กำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ถีนมิทธะ ละอุทัธจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา
ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉา.
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทำ
ปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มิปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-
จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม-
น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพ
โน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่าง
นั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจะติจากภพ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง
นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ไม่มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย
ประการฉะนี้.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-
จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุด
พ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น
แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่
ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ
ผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขา
ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท
เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.

พราหมณ์และคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก


[128] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤห-
บดีทั้งหลายชาวบ้านศาลาได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดม